!!~ แต่ สุด ท้าย ฉาน เอง นั้น แหละ ที่ ทัม มั่ย ดั้ย ~!!

วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่





           โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินทำกินของเกษตรกร ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์มากที่สุด
ที่มาของโครงการ
           จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรในพื้นที่บ้านกุตตอแก่น ตำบลกุตสิมคุ้มใหญ่ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2535 ทำให้ทรงเห็นปัญหาของราษฎรเกี่ยวกับเรื่องที่ดินทำกิน จึงมีพระราชดำรัสในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 4 ธันวาคม 2535 ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรดา พระราชวังดุสิต ว่า
           "...ถามชาวบ้านที่อยู่นั่นว่าเป็นอย่างไรบ้างปีนี้ เขาบอกว่าเก็บข้าวได้แล้วข้าวก็อยู่ตรงนั้นกองไว้เราก็ไปดูข้าว ข้าวนั้นมีรวงจริงแต่ไม่มีเมล็ดหรือรวงหนึ่งมีซักสองสามเมล็ด ก็หมายความว่า 1 ไร่ คงได้ข้าวประมาณซักถังเดียวหรือไม่ถึงถังต่อไร่ เขาทำไมเป็นอย่างนี้ เขาบอกว่าเพราะไม่มีฝนเขาปลูกกล้าไว้แล้ว เมื่อขึ้นมาก็ปักดำ ปักดำไม่ได้เพราะว่าไม่มีน้ำ ก็ปักในทรายทำรู ในทรายแล้วก็ปักลงไป เมื่อปักแล้วตอนกลางวันก็เฉามันงอลงไป แต่ตอนกลางคืนก็ตั้งตัวตรงขึ้นมาเพราะมีน้ำค้าง และในที่สุด ก็ได้รวงแต่ไม่มีข้าว ข้าวเท่าไร อันนี้เป็นบทเรียนที่ดี...แสดงให้เห็นว่าข้าวนี้เป็นพืชแข็งแกร่งมากขอให้ได้มีน้ำค้างก็พอ แม้จะเป็นข้าวธรรมดา ไม่ใช่ข้าวไร่ ถ้าหากว่าเราช่วยเขาเล็กน้อยก็สามารถที่จะได้ข้าวมากขึ้นหน่อยพอที่จะกิน ฉะนั้นโครงการ ที่จะทำมิใช่ต้องทำโครงการใหญ่โตมากจะได้ผล ทำเล็กๆ ก็ได้ จึงเกิดความคิดขึ้นมาว่าในที่เช่นนั้นฝนตกดีพอสมควร แต่ลงมาไม่ถูกระยะเวลา...ฝนก็ทิ้งช่วง..."
เหตุนี้จึงทำให้พระองค์มีพระราชดำริแก้ไขปัญหา จนกลายเป็นแนวคิดทฤษฎีที่ว่า
           "...วิธีการแก้ไขก็คือต้องเก็บน้ำฝนที่ตกลงมา ก็เกิดความคิดว่าอยากทดลองดูสัก 10 ไร่ ในที่อย่างนั้น 3 ไร่ จะเป็นบ่อน้ำ คือเก็บน้ำฝนแล้ว ถ้าจะต้องบุด้วยพลาสติกก็บุด้วยพลาสติกทดลองดูแล้ว อีก 6 ทำไร่ทำเป็นที่นา ส่วนไร่ที่เหลือก็เป็นบริการหมายถึงทางเดินหรือกระต๊อบหรืออะไรก็ได้แล้วแต่หมายความว่า น้ำ 30 % ที่ทำนา 60 % ก็เชื่อว่าถ้าเก็บน้ำไว้ได้จากเดิมที่ เก็บเกี่ยวข้าวได้ไร่ละ ประมาณ 1-2 ถัง ถ้ามีน้ำเล็กน้อยอย่างนั้นก็ควรจะเก็บเกี่ยวข้าวได้ไร่ละประมาณ 10 -20 ถังหรือมากกว่า"
           ด้วยแนวพระราชดำรินี้จึงเกิดเป็น "ทฤษฎีใหม่" เกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าที่สุด


หลักการของโครงการ
           พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้จัดสรรพื้นที่เกษตรกรออกเป็นส่วนๆ ในอัตรา 3:3:3:1 โดยทรงนำเอา "ทฤษฎีใหม่" นี้ทดลอง ณ วัดมงคลชัยพัฒนา ตำบลห้วยบง อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี โดยเทียบจากพื้นที่ทางการเกษตรประมาณ 10-15 ไร่ ต่อครอบครัว ซึ่งเป็นอัตราถือครองเนื้อที่การเกษตรโดยเฉลี่ยของเกษตรกรไทย
ส่วนแรก ร้อยละ 30
           เป็นพื้นที่สำหรับกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเพาะปลูก โดยให้ขุดสระที่มีความลึกประมาณ 4 เมตร ซึ่งจะสามารถรองรับน้ำฝนได้จุถึง 19,000 ลูกบาศก์เมตร น้ำที่กักเก็บไว้สามารถนำไปใช้ได้ตลอดปี อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นบ่อเพาะพันธุ์ปลา และปลูกพืชริมสระ เป็นการเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่ง
ส่วนที่สอง ร้อยละ 60 (30:30)
           ส่วนที่สองใช้สำหรับปลูกพืชผลต่างๆ แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ร้อยละ 30 แรกใช้สำหรับเป็นพื้นที่ทำปลูกข้าวทำนา ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 30 ใช้สำหรับปลูกพืชไร่หรือพืชสวนซึ่งแตกต่างกันตามสภาพของพื้นที่ ภูมิอากาศ และการตลาด
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคำนวนโดยใช้หลักเกณฑ์เฉลี่ยว่าในพื้นที่ทำการเกษตรนี้ต้องมีน้ำใช้ในช่วงฤดูแล้ง ประมาณ 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ถ้าหากแบ่งแต่ละแปลงเกษตรให้มีเนื้อที่ 5 ไร่ ทั้ง 2 แห่งแล้ว ความต้องการน้ำจะใช้ประมาณ 10,000 ลูกบาศก์เมตร ที่จะต้องเป็นน้ำสำรองไว้ใช้ในยามฤดูแล้ง
ส่วนที่สาม ร้อยละ 10
           พื้นที่ส่วนที่เหลือจะใช้สำหรับปลูกสร้างที่อยู่อาศัย คันคูดินหรือคูคลอง ปลูกพืชผักสวนครัวไว้รับประทาน หรืออาจใช้เป็นสถานที่เลี้ยงสัตว์ได้
           พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงคำนวณแล้วว่าการแบ่งสรรที่ดินข้างต้นตาม "ทฤษฎีใหม่" จะสามารถช่วยให้เกษตรกรมีน้ำอย่างพอเพียงในการประกอบอาชีพ และยังสามารถนำน้ำมาใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ ได้อีก นอกจากนี้การแบ่งสรรที่ดินออกเป็นส่วนๆ โดยมีการเพาะปลูกพืชผักสวนครัว ทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงปลา ยังเป็นการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้มากขึ้น และทำให้เกษตรกรสามารถเลี้ยงตัวเองได้อย่างยั่งยืน

โครงการ แก้มลิง
ทฤษฎีตามแนวทางการบริหารจัดการด้านน้ำท่วมล้น
การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ



             พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานแนวพระราชดำริแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร ไว้ 5 แนวทาง คือ ประการแรก สร้างคันกั้นน้ำ  โดยปรับปรุงแนวถนนเดิมประการที่สอง จัดให้มีพื้นที่สีเขียว (Green Belt)   ตามพระราชดำริ เพื่อกันการขยายตัวของเมือง และเพื่อแปรสภาพให้เป็นทางระบายน้ำเมื่อมีน้ำหลาก ประการที่สาม ดำเนินการขุดลอกคลอง ขยายคลองที่มีอยู่เดิมและขุดใหม่นอกแนวคันกั้นน้ำ ประการที่สี่ สร้างสถานที่เก็บน้ำตามจุดต่าง ๆ ประการที่ห้า ขยายช่องทางรับน้ำที่ผ่านทางรถไฟและทางหลวง
วิธีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในภูมิภาคต่าง ๆ คือ
1. การก่อสร้างคันกันน้ำ โดยการก่อสร้างคันดินกั้นน้ำขนานไปตามลำน้ำเพื่อป้องกันมิให้น้ำล้นตลิ่งไปท่วมในพื้นที่ต่าง ๆ ด้านใน
2. การก่อสร้างทางผันน้ำ เพื่อผันน้ำทั้งหมดหรือบางส่วนที่ล้นตลิ่งท่วมล้นเข้ามาให้ออกไป
3. การปรับปรุงและตกแต่งสภาพลำน้ำ เพื่อให้น้ำที่ท่วมทะลักสามารถไหลไปตามลำน้ำได้สะดวก หรือช่วยให้กระแสน้ำไหลเร็วยิ่งขึ้น

การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลตามพระราชดำริ "แก้มลิง"
ลักษณะและวิธีการของโครงการแก้มลิง

1. ดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบน ให้ไหลลงคลองพักน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณชายทะเล
2. เมื่อระดับน้ำทะเลลดต่ำกว่าระดับน้ำในคลอง ก็ทำการระบายน้ำจากคลอง ดังกล่าว โดยใช้หลักการทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow) ตามธรรมชาติ
3. สูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่ "แก้มลิง" นี้ เพื่อจะได้ทำให้น้ำตอนบนค่อยๆ ไหลมาเองตลอดเวลา ส่งผลให้ปริมาณน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลง 
4. เมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำในลำคลองให้ทำการปิดประตูระบายน้ำ โดยยึดหลักน้ำไหลลงทางเดียว
(One Way Flow) หลักการ 3 ประเด็น ที่โครงการแก้มลิงจะสามารถมีประสิทธิภาพบรรลุผลสำเร็จตามแนวพระราชดำริคือ
1. การพิจารณาสถานที่ที่จะทำหน้าที่เป็นบ่อพัก และวิธีการชักนำน้ำท่วมไหลเข้าสู่บ่อพักน้ำ
2. เส้นทางน้ำไหลที่สะดวกต่อการระบายน้ำเข้าสู่แหล่งที่ทำหน้าที่บ่อพักน้ำ
3. การระบายน้ำออกจากบ่อพักน้ำอย่างต่อเนื่อง


             โครงการแก้มลิงฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ใช้คลองชายทะเลที่ตั้งอยู่ริมทะเลด้านจังหวัดสมุทรปราการ ทำหน้าที่เป็นบ่อพักน้ำหรือบ่อรับน้ำ โครงการแก้มลิงในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ทำหน้าที่รับน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อระบายออกทะเลด้านจังหวัดสมุทรสาคร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริเพื่อให้การระบายน้ำท่วมออกทะเลเร็วขึ้นด้วยวิธีการต่าง ๆ คือ โครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง" ซึ่งใช้หลักการในการควบคุมน้ำในแม่น้ำท่าจีน คือ เปิดระบายน้ำจำนวนมากลงสู่อ่าวไทยเมื่อระดับน้ำทะเลต่ำ โครงการแก้มลิงแม่น้ำท่าจีนตอนล่างจะมีประสิทธิภาพสมบูรณ์ต้องดำเนินการครบระบบ 3 โครงการ ด้วยกัน คือ
1. โครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง"
2. โครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย-คลองสนามชัย"
3. โครงการแก้มลิง "คลองสุนัขหอน"
            โครงการแก้มลิงนับเป็นนิมิตรหมายอันเป็นสิ่งที่ชาวไทยทั้งหลายได้รอดพ้นจากทุกข์ภัยที่นำความเดือดร้อนแสนลำเค็ญมาสู่ชีวิตที่อบอุ่นปลอดภัย ซึ่งแนวพระราชดำริอันเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านน้ำท่วมนี้ มีพระราชดำริเพิ่มเติมว่า "...ได้ดำเนินการในแนวทางที่ถูกต้องแล้ว ขอให้รีบเร่งหาวิธีปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพต่อไป เพราะโครงการแก้มลิงในอนาคตจะสามารถช่วยพื้นที่ได้หลายพื้นที่..."
http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6/sri10/the_king_and_technology/envi_3.htm



โครงการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมที่ภูสิงห์




ความเป็นมา
          ในปี พ.ศ. 2549 กองกำลังสุรนารี กองทัพภาคที่ 2 ร่วมกับจังหวัดศรีสะเกษ ได้ขอใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าฝั่งซ้ายห้วยศาลา บริเวณบ้านตะแบงและบ้านโคกใหญ่ อำเภอภูสิงห์(ในขณะนั้น สองบ้านนี้ขึ้นอยู่กับอำเภอขุขันธ์เป็นชายแดนติดต่อกับประเทศกัมพูชา) เพื่อจัดตั้งระบบผลิตพลังงานแก็สชีวมวลในชนบท จำนวนประมาณ 4,000 ไร่ เพื่อใช้เป็นพื้นที่ในการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพราษฎรเป็นระยะเวลา 30 ปี ซึ่งต่อมากรมป่าไม้อนุญาตให้ใช้พื้นที่ดังกล่าวได้ในปี 2532 แต่โครงการดังกล่าวไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากติดปัญหาต่าง ๆ มากมาย ต่อมาในปี 2533 กองกำลังสุรนารีได้จัดตั้งศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพช่วยเหลือราษฎรบริเวณชายแดน โดยดำเนินกิจกรรมพัฒนาแบบรวมกิจกรรมทุกสาขา ให้เป็นแหล่งสาธิต บริการพัฒนาอาชีพช่วยเหลือราษฎร และด้านฝึกอบรมราษฎร โดยดำเนินกิจกรรมตามรูปแบบและเค้าโครงของศูนย์พัฒนาโนนดินแดง โครงการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ
          สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรที่กิ่งอำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2537 และมีพระราชดำริกับข้าราชการที่เฝ้าฯ รับเสด็จ สรุปความว่า ให้ส่วนราชการต่าง ๆ ร่วมกันจัดตั้ง ศูนย์พัฒนาการเกษตรแบบเบ็ดเสร็จในลักษณะเป็นศูนย์สาธิตทางการเกษตรเพื่อช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่ซึ่งประกอบอาชีพทำนาไม่ได้ผลและให้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อดำเนินงานศูนย์ฯ ในลักษณะเช่นเดียวกับศูนย์พัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โครงการศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์จึงได้ถูกพัฒนาเป็นศูนย์แม่บทและเป็นโครงการที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชาติ การบริหารทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและเสริมสร้างความมั่นคงของชาติในปัจจุบันกำลังดำเนินกิจกรรมในแผนแม่บทระยะที่ 2 (ปี 2545-2549)
          หลังจากทางจังหวัดได้จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินการจากส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องแล้ว การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ก็เริ่มดำเนินการนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา หน่วยงานต่าง ๆ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เข้ามาดำเนินการจัดทำแปลงสาธิต ฝึกอบรมเกษตรในหมู่บ้านรอบศูนย์
          อาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม นับเป็นอาชีพที่อยู่คู่กับชาวไทยอีสานมาแต่ครั้งบรรพกาลสืบต่อกันมาถึงยุคปัจจุบัน จนมีลวดลายบนผืนผ้าต่าง ๆ นับเป็นร้อย ๆ ลวดลาย จังหวัดศรีสะเกษเป็นจังหวัดหนึ่งที่ราษฎรมีอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหมมากเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศ โดยมีพื้นที่ปลูกหม่อน 11,163 ไร่ มีเกษตรกรปลุกหม่อนเลี้ยงไหม 14,989 ครัวเรือน สามารถผลิตเส้นไหมได้ 39,524 กิโลกรัม/ปีและอำเภอภูสิงห์เป็นอำเภอที่ราษฎรมีอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหมมากอำเภอหนึ่งของขจังหวัด ารปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของเกษตรกรก่อนที่จะมีโครงการฯอยู่ในสภาพล้าหลัง ให้ผลผลิตไหมต่ำ รังเล็ก หนอนไหมมักตายเป็นประจำ และปลูกหม่อนพันธุ์พื้นเมืองที่ให้ผลผลิตใบต่ำโครงการฯ โดยศูนย์วิจัยหม่อนไหมศรีสะเกษจึงมีความจำเป็นที่ต้องเข้าดำเนินการแก้ไขปัญหาให้เกษตรกร
การดำเนินกิจกรรมปลูกหม่อนเลี้ยงไหม
              ศูนย์วิจัยหม่อนไหมศรีสะเกษ ได้เข้ามาวางแผนดำเนินการและปรับสภาพพื้นที่เมื่อ 19 มิถุนายน 2538 และปลูกหม่อนเพื่อเป็นแปลงสาธิตการปลูกหม่อนพันธุ์ดีและการปลูกที่ถูกวิธีเมื่อ 8 สิงหาคม 2538 ในพื้นที่ประมาณ 5 ไร่ โดยใช้หม่อน 4 พันธุ์ คือนครราชสีมา 60 บุรีรัมย์ 60 ศรีสะเกษ 33 และ ศก.2820 แต่พื้นที่บางส่วนมีสภาพเป็นซับทำให้หม่อนพันธุ์นครราชสีมา 60 และศก.2802 ตายหมดในปี 2541 ได้แก้ไขสภาพน้ำซับ โดยการขุดคูระบายน้ำรอบแปลงหม่อน และปลูกหม่อนพันธุ์บุรีรัมย์ 60 และพันธุ์ศรีสะเกษ 33  จนเต็มพื้นที่ 8 ไร่ และในปี 2539 ได้ก่อสร้างโรงเลี้ยงไหมวัยอ่อนสาธิต ขนาด 6x8 เมตร โดยใช้วัสดุในท้องถิ่นแก่เกษตรกรในหมู่บ้านรอบโครงการฯ และผู้สนใจทั่วไป เพื่อแจกจ่ายไหมวัยอ่อนแก่เกษตรกรสมาชิก
การขยายผลการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมสู่หมู่บ้านรอบโครงการฯ
           หลังจากได้สร้างสวนหม่อนและโรงเลี้ยงไหมวัยอ่อนสาธิตแก่เกษตรกรและผู้สนใจ ทั่วไปภายในโครงการฯแล้วในปี 2540 ได้เริ่มรับสมัครเกษตรกรสมาชิกปีละประมาณ 10 รายในหมู่บ้านรอบโครงการฯ ได้แก่  บ้านภูสิงห์  บ้านทุ่งหลวง  บ้านตะแบง  หมู่ 1 หมู่ 9 หมู่ 12 และหมู่ 18 และให้การสนับสนุนหม่อนพันธุ์ดี คือพันธุ์บุรีรัมย์ 60 และศรีสะเกษ 33 ในปีต่อ ๆ มาได้ให้การสนับสนุนหม่อนพันธุ์บุรีรัมย์ 51 เท่านั้น เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่ท่อนพันธุ์ออกรากง่ายจึงเป็นที่นิยมของเกษตรกรนำไปปลูกขยายผลแก่สมาชิกที่ต้องการเพิ่มเติมในด้านพันธุ์ไหมได้ให้มีการสนับสนุนพันธุ์ไหมไทยพื้นเมืองปรับปรุง คือ พันธุ์นางน้อยศรีสะเกษ 1 x นค. 4 โดยให้เกษตรกรสมาชิกมาร่วมกันเลี้ยงที่ โรงเลี้ยงสาธิตภายในโครงการฯ โดยมีเจ้าหน้าที่ของศูนย์ฯ คอยให้คำแนะนำเทคนิคการเลี้ยงบางประการเป็นการพัฒนาทักษะการเลี้ยงไหมให้แก่เกษตรกรจนไหมเข้าสู่วันที่ 4 จึงแบ่งกันนำไปเลี้ยงที่บ้าน และเจ้าหน้าที่ของศูนย์ฯ ได้เข้าไปให้คำแนะนำต่อที่บ้านจนไหมสุกทำรัง หรือเกษตรกรบางรายมีภารกิจภายในครอบครัวไม่สามารถมาร่วมเลี้ยงไหมวันอ่อนได้จะให่ไหมแรกฟักนำกลับไปเลี้ยงที่บ้าน โดยเจ้าหน้าที่ของศูนย์ฯ คอยติดตามให้คำแนะนำจนไหมสุกทำรัง ในแต่ละปีจะสนับสนุนพันธุ์ไหมให้เกษตรกรสมาชิกเลี้ยงปีละ 5-6 รุ่น จึงถึงปัจจุบันมีสมาชิกในโครงการฯ แล้ว 50 รายรวมพื้นที่ปลูกหม่อนประมาณ 50 ไร่ ในความเป็นจริงมีเกษตรกรจะขอเข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก แต่ทางโครงการฯ ไม่สามารถรับได้ทั้งหมดผลการขยายผลการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมสู่หมู่บ้านเกษตรกรรอบโครงการฯ จากการดำเนินกิจกรรมการขยายผลการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา จนถึงปี 2546 เกษตรกรสมาชิกมีความพึงพอใจในอาชีพเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีรายได้เพิ่มขึ้นจากอดีตที่ทำนาเพียงอย่างเดียว ในสภาพรวมของโครงการฯ นับตั้งแต่ปี 2540-2546 เกษตรกรสมาชิกถ้าจำหน่ายรังไหมทั้งหมดจะมีรายได้ทั้งสิ้นถึง 726,980 บาท
          จากการได้พบและสัมภาษณ์เกษตรกรสมาชิกบางรายดังเช่น นางโฮม จำปาเต็ม บ้านภูสิงห์ได้ยอมรับว่าโครงการนี้ได้สร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวอย่างต่อเนื่อง และในบางปีเช่นปี 2541 ได้เกิดวิกฤติฝนแล้งทำนาไม่ได้ผล ไม่มีข้าวจะกิน ก็ได้อาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหมสร้างรายได้นำไปซื้อข้าวสารจุนเจือครอบครัวให้อยู่รอดจนถึงปัจจุบัน
          เกษตรกรสมาชิกบางราย ปลูกหม่อนเพื่อนำใบไปเลี้ยงไหมและจำหน่ายใบหม่อนด้วย หรือบางรายปลูกหม่อนเพื่อจำหน่ายใบแต่อย่างเดียว สามารถสร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำรวมสมาชิกทุกรายที่จำหน่ายใบหม่อนจะมีรายได้ปีละไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท เช่นนายเทียม สาบุตร เกษตรกรบ้านภูสิงห์ ปลูกหม่อนพันธุ์บุรีรัมย์ 60 และบุรีรัมย์ 51 จำหน่ายใบหม่อนแต่เพียงอย่างเดียวในพื้นที่ 7 ไร่ มีรายได้เฉลี่ยประมาณ 30,000 บาท/ปี และยังจำหน่ายท่อนพันธุ์ให้แก่เพื่อนบ้านนำไปปลูกได้อีกละไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท/ปี นางกาสี วงษาลี เกษตรกรบ้านภูสิงห์ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและจำหน่ายใบในพื้นที่ 2 ไร่ มีรายได้จากการจำหน่ายใบหม่อนเฉลี่ยประมาณ 8,000 บาท/ปี จะเห็นว่าตลอดระยะเวลาที่ได้ดำเนินการขยายผลการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมสู่เกษตรกร ในหมู่บ้านรอบโครงการฯ สามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรสมาชิกมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1,000,000 บาท ยังผลให้เกษตรกรในหมู่บ้านที่กำลังดำเนินกิจกรรมปลุกหม่อนเลี้ยงไหมและหมู่บ้านอื่น ๆ เช่น บ้านวนาสวรรค์ เป็นต้น มาขอเข้าเป็นสมาชิกอยู่เนือง ๆ แต่ทางโครงการฯ สามารถรับได้เพียงจำนวนจำกัด เพียงปีละไม่เกิน 10 ราย ที่มีความพร้อมที่จะเดินเคียงบ่าเคียงไหล่กับโครงกา

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

คำอวยพรเปิดภาคเรียนใหม่..แด่เพื่อนๆ

เปิดภาคเรียนใหม่แล้ว...ขอให้ผ่องแผ้วสุขสันต์
เรียนหนังสือ...ขอให้สนุกทั้งวัน
คิดสิ่งใดนั้น...ขอให้สมฤทัย
สมองจงปลอดโปร่ง...โล่งโปร่งใส
ทำงานส่งอาจารย์...ได้ส่งเร็วไว
ถึงช่วงท้ายทำข้อสอบได้...ได้เกรด A